Sections

เชื่อว่า การใช้ชีวิตอยู่กับธรรมชาติ มีโอกาสทำสวน ปลูกผัก เลี้ยงปลา ปลูกไม้ยืนต้นหรือผลไม้ไว้รับประทานภายในครอบครัว และเหลือจากบริโภคก็นำไปขาย เป็นวิถีชีวิตที่ใคร ๆ ก็ปรารถนา “การทำเกษตรผสมผสาน” คือแนวทางการทำเกษตรในยุคนี้ที่สามารถช่วยให้เกษตรกรมือใหม่ ปลูกพืชผัก ผลไม้ และเลี้ยงสัตว์ได้ครอบคลุมตามสิ่งที่ต้องการโดยไม่ต้องมีพื้นที่มากนัก
การทำเกษตรผสมผสาน คืออะไร
ความหมายของการทำเกษตรแบบผสมผสาน ก็คือ วิธีทำการเกษตรที่มีการปลูกพืชและการเลี้ยงสัตว์หลากหลายชนิดไว้ในพื้นที่เดียวกัน หรือทำการเกษตรรวมกันอย่างน้อย 2 ประเภทขึ้นไป ภายในพื้นที่และช่วงเวลาเดียวกัน เพื่อให้เกื้อกูลซึ่งกันและกันโดยอาศัยหลักการอยู่รวมกันระหว่างพืช สัตว์ และสิ่งแวด
การทำเกษตรผสมผสาน มีอะไรบ้าง
การเกษตรแบบผสมผสาน เป็นระบบการปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์เพื่อเพิ่มพูนความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ และเกิดความสมดุลของสภาพแวดล้อมอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน เช่น การทำนาข้าว พร้อมกับปลูกพืชผักสวนครัวไว้บริโภคหรือขาย การขุดบ่อเลี้ยงปลา และเลี้ยงไก่ เลี้ยงสัตว์ชนิดอื่น ๆ ไว้บริโภคในครัวเรือน เหลือจากบริโภคนำไปขาย รวมทั้งใช้ประโยชน์จากทรัพยากรของเหลือใช้ภายในพื้นที่ เช่น วัชพืชใช้ทำปุ๋ยชีวภาพ รากไม้ กิ่งไม้ใช้เผาถ่าน มูลสัตว์ใช้ทำปุ๋ย เศษอาหารจากไก่หรือมูลไก่ใช้เลี้ยงปลา เป็นต้น
ข้อดีและประเภทของการทำเกษตรผสมผสาน
การทำเกษตรผสมผสานมีข้อดีในหลาย ๆ ด้าน โดยแบ่งตามลักษณะสภาพพื้นที่ซึ่งมีข้อดี และเหมาะกับการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ แตกต่างกัน ดังนี้
ระบบการทำเกษตรผสมผสานในพื้นที่สูง
พื้นที่สูงส่วนใหญ่เป็นภูเขาลักษณะพื้นที่มีความลาดชัน การเกษตรแบบพืชเชิงเดี่ยวที่มีอายุสั้น มักมีปัญหาความอุดมสมบูรณ์ของดินลดลงรวดเร็ว เนื่องจากหน้าดินถูกชะล้าง การทำเกษตรในลักษณะผสมผสานจะช่วยรักษาคุณภาพของดินไม่ให้ถูชะล้างไปกับน้ำฝน พืชที่นิยมปลูกได้แก่ ปลูกไม้ผลไม้เมืองหนาวชนิดต่าง ๆ ผสมผสาน เช่น ปลูกบ๊วยแซมด้วยท้อ บ๊วยแซมด้วยพลับ พลับแซมด้วยท้อ หรือการปลูกพืชร่วมกับแถบไม้พุ่ม เช่น ปลูกกระถิน แคฝรั่ง แคบ้าน ถั่วมะแฮะ ครามป่า แซมด้วย พืชตระกูลถั่ว
ครามป่า แคฝรั่ง แคบ้าน ถั่วมะแฮะ ท้อ กระถิน บ๊วย
- ระบบการทำเกษตรผสมผสานในพื้นที่ราบเชิงเขา
พื้นที่ส่วนใหญ่จะเป็นที่ดอนการเกษตร การทำเกษตรแบบผสมผสานเหมาะกับการปลูกพืชไร่พืชเศรษฐกิจอายุสั้น ควบคู่ไปกับการเลี้ยงสัตว์ ข้อดีคือจะเป็นการสร้างความหลากหลายของระบบได้มากขึ้นและช่วยลดความเสี่ยงในการลงทุน
- ระบบเกษตรผสมผสานในพื้นที่ดอน
พื้นที่ดอน คือ ดินที่ไม่มีน้ำแช่ขัง มีการระบายน้ำได้ดี สามารถทำการเกษตรแบบผสมผสานได้หลายรูปแบบ เช่น การปลูกพืชเศรษฐกิจแซมไม้ผล การใช้พื้นที่มาเลี้ยงสัตว์ ปศุสัตว์ และปลูกพืชที่ใช้เป็นอาหารสัตว์ควบคู่กันไป
- ระบบเกษตรผสมผสานในพื้นที่ราบลุ่ม
การทำเกษตร แบบเดิมมักเป็นปลูกพืชอย่างเดียว เช่น การทำนาข้าว พืชเศรษฐกิจ และเลี้ยงปลา ระบบเกษตรผสมผสานที่เหมาะสำหรับพื้นที่ราบลุ่ม ได้แก่ การเลี้ยงปลาในบ่อ และมีการปลูกข้าวเป็นพืชหลัก การปลูกพืช เช่น การทำนาผักบุ้ง ควบคู่กับการเลี้ยงปูนา เลี้ยงห้อย เป็นต้น
การทำเกษตรผสมผสาน เป็นวิถีชีวิตที่เกษตรยุคใหม่สามารถทำควบคู่ไปกับงานประจำ หรือทำเป็นอาชีพรองรับการเกษียณอายุการทำงาน ข้อดีที่ทำได้ไม่ยากในยุคนี้ก็คือใช้พื้นที่ไม่มาก และทำได้หลากหลายรูปแบบ
งานวิจัยอ้างอิง : EIP-AGRI Focus Group on Mixed Farming Systems: Final report | EIP-AGRI (europa.eu)